เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชนเหล่าไหนเล่าเป็นสมณะโล้น และชนเหล่าไหนเล่า
จักรู้สภาธรรม. บทว่า สนฺโต ได้แก่ บัณฑิต คือ สัตบุรุษ. บทว่า ปหาย
ความว่า ชนที่ละราคะเป็นต้นเหล่านั่น กล่าวธรรมเพื่อกำจัดราคะเป็นต้น ชื่อว่า
สัตบุรุษ.
จบอรรถกถาโขมทุสสสูตรที่ 12 อุ ปาสกวรรคที่ 2
แห่งพราหมณสังยุตเพียงเท่านี้


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. กสิสูตร 2. อุทัยสูตร 3. เทวหิตสูตร 4. มหาศาลสูตร
5. มานัตถัทธสูตร 6. ปัจจนิกสูตร 7. นวกัมมิกสูตร 8. กัฏฐหารสูตร
9. มาตุโปสกสูตร 10. ภิกขกสูตร 11. สังครวสูตร 12. โขมทุสสสูตร
พร้อมทั้งอรรถกถา
จบพราหมณสังยุต

วังคีสสังยุต



1. นิกขันตสูตร



ว่าด้วยบรรเทาความกระสัน



[727] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะ อยู่ทีอัตตาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี กับท่าน
พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ก็สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยังเป็นภิกษุใหม่
บวชได้ไม่นาน ถูกละไว้ให้เฝ้าวิหาร.
[728] ครั้งนั้น สตรีเป็นอันมาก ประดับประดาร่างกายแล้ว เข้าไป
ยังอารามเที่ยวดูที่อยู่ของพวกภิกษุ.
ครั้งนั้นแล ความกระสันย่อมบังเกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิต
ของท่านพระวังคีสะ เพราะได้เห็นสตรีเหล่านั้น.
ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ
ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่
เราเกิดความกระสัน ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เหตุที่คนอื่น ๆ จะพึง
บรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดีให้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่
บังเกิดขึ้นแล้วนี้ เราจะได้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความกระสัน
เสียแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด.
[729] ในกาลนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันเสียแล้ว
ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า